วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สับปะรดสี




ถิ่นกำเนิด        ทวีปอเมริกา ใต้ กลาง เหนือ กระจายตามป่าตามคาคบไม้ ระดับสูงเทียมเมฆ                 
                      ตามหน้าผาสูงชัน หรือที่ราบชายฝั่งทะเล
ความนิยม       สับปะรดสีได้เริ่มนิยมในทวีปยุโรปก่อน แล้วเริ่มแพร่กระจายในเอเชีย
                      ในยุคปัจจุบันโดยใช้ตกแต่งทั่วไปตามลักษณะของสายพันธุ์ สับปะรดสีช่วยเพิ่มบรรยากาศความสดชื่น
                      จะปลูกไว้ใกล้หน้าต่าง บนโต๊ะ ริมผนัง ในครัว ใต้ต้นไม้ ในห้องน้ำ ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นพืชทนทาน
                      ต่อสภาพแสงน้อย
ลักษณะเด่น     มีช่อดอกยาวสูง สีกลีบดอก กลีบเลี้ยง และใบที่ฉูดฉาดคงอยู่นานหลาย
                     สัปดาห์หรืออยู่ได้หลายเดือน ทนแล้ง เหมาะสำหรับจัดสวนที่ไม่ต้องดูแลมาก

การขยายพันธุ์     ที่นิยมมากที่สุดคือ การแยกหน่อ รองลงมาคือ การเพาะเมล็ด เหมาะ

                               สำหรับผสมพันธุ์ใหม่ ได้ลูกผสมที่อาจสวยกว่าเดิม หรือด้อยกว่า ซึ่งต้องคัด
                               ต่อไปเรื่อยๆ ให้ได้ลูกผสมที่มีลักษณะที่สวยชัดเจน

ลักษณะนิสัย 

โโดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งตามลักษณะความเป็นอยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งจัดเป็นกลุ่มได้ดังนี้
11. พืชบนดิน-ทนแล้ง พบตามพื้นดินทรายแนวป่าใกล้ทะเล เป็นไม้อวบน้ำ ควรปลูกในกระถางดินเผา
หหรือพลาสติก ใช้วัสดุที่มีส่วนผสมของทรายหยาบ กาบมะพร้าวสับ  อาจเพิ่มถ่านผสมใบไม้ผุ
 ถ้าปลูกในแปลง ต้องเป็นพื้นที่และดินระบายน้ำดี แล้วผสมเครื่องปลูกที่กล่าวมาแล้ว

2.    พืชอิงอาศัย ชอบชื้น Tank type สับปะรดสีพวกนี้มีความหลากหลายสูง พบได้ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงยอดเขาสูง

ตามคาคบไม้ใหญ่ ป่าดิบเขาสูงระดับต่างๆ เมื่อนำมาปลูก ต้องการวัสดุปลูกที่ระบายน้ำและอากาศดี ควรใช้วัสดุให้รากยึดเกาะ
เพื่อหาอาหารจากผิวไม้ที่อาศัยเกาะอยู่ด้วย เช่น ตอไม้แขวน โดยแขวนที่ร่มรำไร แสงแดดประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ที่มีความ
ชื้นสูงหรือกระถางที่โปร่ง(กระถางกล้วยไม้)    ใช้เครื่องปลูกเป็น
กาบมะพร้าวสับและใส่ปุ๋ยละลายช้า ที่เรียกสับปะรดชนิดนี้ว่า Tank
เพราะใบสามารถเก็บน้ำขังไว้บริเวณกาบใบและยอด  ถ้าปลูกใน
แปลงควรใช้ดินร่วนโปร่งมีใบไม้ผุและกาบมะพร้าวสับมากๆ มีอิฐหัก
หรือถ่านทุบก็ได้ 
3   พืชอิงอาศัย ชอบแห้ง หรือพืชอากาศแท้   มีสกุลเดียวคือ สกุลทิลแอนเซีย (Tillandsia) จะมีลักษณะเป็นขุยสีเทาเงินปกคลุม
ระบบรากไม่พัฒนามาก บางชนิดมีราก2-3 เส้นไว้ยึดเกาะกิ่งไม้หรือผาหิน โดยไม่ทำหน้าที่ดูดอาหารเลย มอสสเปน หรือทั่วไปเรียกว่า
หนวดฤษี สับปะรดสีชนิดนี้ไม่ต้องใช้กระถางปลูกเลย ควรผูกติดกับตอไม้ แก่นไม้ แขวนไว้ที่ร่มรำไร หรือวางบนตะข่ายโปร่งๆ 

กระทือป่า



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Zingiber zerumbet  (L.) Smith.
วงศ์ :   Zingiberaceae
ชื่ออื่น :  กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ แฮวดำ เฮียวดำ (ภาคเหนือ) เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นเหนือดินกลม สูง 0.9-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน ต้นโทรมในหน้าแล้งแล้วงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปรูยาว กว้าง 5-7.5 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อแทงออกจากเหง้าขึ้นมา ช่อดอกรูปทรงกระบอก มีใบประดับสีเขียวแกมแดง เรียงซ้อนกันแน่นเป็นระเบียบ ดอกสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกบานไม่พร้อมกัน ผล แบบผลแห้งแตก รูปทรงค่อนข้างกลม สีแดง เมล็ดสีดำ
ส่วนที่ใช้ :  เหง้าสด
สรรพคุณ : บำรุงและขับน้ำนม ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืด บิด ปวดมวนในท้อง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ราก - แก้ไข้ตัวเย็น แก้ไข้ต่างๆ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เคล็ดขัดยอก
  • เหง้า- บำรุงน้ำนม แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด บิดป่วงเบ่ง
    - แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ขับผายลม ขับปัสสาวะ
    - แก้จุกเสียด แก้เสมหะเป็นพิษ
    - ขับน้ำย่อย เจริญอาหาร
    - เป็นยาบำรุงกำลัง
    - แก้ฝี
  • ต้น- แก้เบื่ออาหาร ช่วยเจริญอาหาร ทำให้รับประทานอาหารมีรส
    - แก้ไข้
  • ใบ
    - ขับเลือดเน่าร้ายในเรือนไฟ
    - แก้เบาเป็นโลหิต
  • ดอก
    - แก้ไข้เรื้อรัง
    - ผอมแห้ง ผอมเหลือง
    - บำรุงธาตุ แก้ลม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง บิดโดยใช้หัวหรือเหง้ากระทือสด ขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (ประมาณ 20 กรัม) ย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใสครึ่งแก้ว คั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ
    บางท้องถิ่นใช้หัวกระทือประกอบอาหาร เนื้อในมีรสขมและขื่นเล็กน้อย ต้องหั่นแล้วขยำกับน้ำเกลือนานๆ
    กระทือเป็นพืชที่มีสารอาหารน้อย
สารเคมี :           Afzelin, Camphene, Caryophyllene           น้ำมันหอมระเหยมี Zerumbone, Zerumbone Oxide

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

ชวนชม


ชวนชม (Desert Rose; Impala Lily; Mock Azalea) เป็นชื่อของพรรณไม้ที่มีสีสันของดอกสวยงาม เป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแห้งแล้งมาก จนได้รับสมญาว่า Desert Rose (กุหลาบทะเลทราย) นอกจากนี้ตามความเชื่อของคนไทยชื่อ "ชวนชม" ยังเป็นชื่อที่มีความไพเราะเป็นศิริมงคล และชาวจีนว่า "ปู้กุ้ยฮวย" ซึ่งแปลว่า ดอกไม้แห่งความร่ำรวย แต่ดอกชวนชมมีสาร abobioside, echubioside ตรงนำ้ยางสีขาว ถ้าน้ำยางถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดง ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบ กินเข้าไปจะเป็นพิษ แต่น้ำยางมีรสขมมาก โอกาสกินมีน้อย ถ้ากินจะมีผลต่อหัวใจ อาการเบื้องต้นจะทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตาพร่า หัวใจเต้นอ่อน ความดันลดลงอาจตายได้
ถิ่นกำเนิดของชวนชมมีการค้นพบครั้งแรกโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ P. Forskal ทางภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกาแถบประเทศแทนซาเนียและเคนย่า ในปี พ.ศ. 2305 แต่ตอนนั้นเชื่อว่าเป็นเพียงลั่นทมพันธุ์ใหม่ ต่อมาปี พ.ศ. 2357 นายโจเซฟ ออกัสต์ ซูลตส์ (Josef August Schultes) นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรีย ได้อธิบายความแตกต่างระหว่างชวนชมกับลั่นทมจนเป็นที่ยอมรับ ส่วนในประเทศไทย มีการพบชวนชมตั้งแต่ประมาณสมัยรัชกาลที่ 6 แต่ก็ไม่ทราบว่ามีการนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อไร

การปลูก
ควรปลูกในที่มีแสงแดดจัดในช่วงครึ่งวันเช้า ดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วน ระบายน้ำได้ดีสูตรที่นิยมให้ปลูกคือดินร่วนผสมใบก้ามปูหมักในอัตราส่วน 3:1 หรือดินปลูกสำเร็จรูปขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ชวนชมลำต้นอุ้มน้ำได้ดีการให้น้ำจึงไม่ควรให้บ่อยจนเกินไป อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
การให้ปุ๋ยใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 สูตรเสมอในปริมาณแต่น้อยทุก 2 สัปดาห์เมื่อโตเต็มที่จึงเปลี่ยนเป็นปุ๋ยเร่งดอกสูตร 8-24-24 ทุก 2 สัปดาห์ การตัดตกแต่งกิ่งต้นชวนชม โดยธรรมชาติของชวนชมเป็นต้นไม้ที่มีความอ่อนช้อย การตัดแต่งกิ่งควรตัดกิ่งเกะเก้งก้างออกไปเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวกละได้โชว์โขดหรือหวัที่สวยงานของชวนชม

การขยายพันธ์

ทำได้โดยการเพาะเมล็ดการเสียบยอด ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด
  • การเพาะเมล็ด ควรใช้เมล็ดใหม่ไม่ควรใช้เมล็ดเก่าเก็บไว้นานเมล็ดใหม่จะมีเปอร์เซ็นต์ในการงอกเยอะกว่า นำเมล็ดไปเพาะในตะกร้าที่มีส่วนผสมของทรายหยาบกับขุยมะพร้าวในอัตราส่วน 1:1
  • การเสียบยอด ต้องคัดต้นตอที่แข็งแรง ขนาดตามต้องการ จากนั้นตัดยอดของต้นตอตามขวาง ผ่าให้เป็นรูปตัววี และนำยอดพันธ์ดี ของชวนชม ซึ่งเป็นพันธ์ที่คัดเลือกไว้แล้ว ความยาวประมาณ1.5-2นิ้ว แล้วบากให้เป็นลิ่ม กะขนาดให้พอดีกับรูปตัววีที่ผ่าไว้ที่ต้นตอจากนั้นนำยอดพันธ์ไปเสียบที่ต้นตอ ระวังอย่าให้ต้นช้ำ พันด้วยพลาสติกใสพันต้นไม้ คลุมด้วยถุงพลาสติกแล้วมัดด้วยเชือก ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน จะสังเกตุเห็นชวนชมที่นำไปเสียบ เริ่มแตกใบอ่อน จึงแกะถุงพลาสติกที่คุลมออกจะได้ต้นชวนชมพันธ์ใหม่ตามที่ต้องการ

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

แก้วเจ้าจอม


แก้วเจ้าจอมเป็นพันธุ์ไม้จากหมู่เกาะอินดีสตะวันออก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาจากประเทศชวา (อินโดนีเซีย) ครั้งเสด็จประพาส แล้วทรงนำมาปลูกใน เขตพระราชอุทยานวังสวนสุนันทา ปัจจุบันมีเพียงต้นเดียวเท่านั้นที่เป็นต้นดั้งเดิม บริเวณด้านหลังเนินพระนาง หรือ พระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระบรมราชเทวี และภายหลัง ได้กลายมาเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ลักษณะทั่วไป

  • ชื่อวิทยาศาสตร์: Guaiacum officinale L.
  • ชื่อสามัญ: แก้วเจ้าจอม (อังกฤษ: Lignum Vitae)
  • ใบ:ใบประกอบคู่ จำนวน 3 คู่
  • ดอก: กลีบดอกสีม่วง -คราม จำนวน5-6กลีบ เกสรสีเหลือง
  • การดูแล: เป็นต้นไม้ที่ต้องการแสงแบบรำไร
  • การขยายพันธุ์: เมล็ด
  • ประโยชน์:ใช้ทำป้องยาสูบ ที่บดยา ที่บดกาแฟ ฯลฯ

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ชาฮกเกี้ยน


ชื่อพื้นเมือง : ชาดัดใบมัน ข่อยจีน ชาญวน ชา ชาญี่ปุ่น
ชนิดพืช : ไม้พุ่ม
ขนาด สูงได้ถึง 1 เมตร
สีดอก  : สีขาว
ฤดูที่ดอกบาน  : หมุนเวียนตลอดปี
อัตราการเจริญเติบโต : ปานกลาง
ลักษณะนิสัย  : ดินร่วน ระบายน้ำได้ดี
ความชื้น  : ปานกลาง-ต่ำ
แสง  : แดดเต็มวัน-รำไร
ลักษณะทั่วไป  : ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นแตกกิ่งก้านจำนวนมากเป็นพุ่มแน่นทึบ
ใบ :ใบเดี่ยว เรียงสลับ มักออกเป็นกระจุกสั้นๆ ตามกิ่ง รูปไข่กลับแคบ กว้าง0.5-2 ซ.ม. ยาว 1-4 ซ.ม. ปลายแยกเป็นพูแหลมมักเป็นติ่งหนามอ่อน โคนใบรูปลิ่ม  ขอบใบหยักผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมันค่อนข้างหนาด้านหลังใบสีเขียวอ่อน
ดอก  :   สีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามซอกใบ มีดอกย่อย 2-5 ดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปแถบ สีเขียวอ่อน  ด้านนอกมีขนยาวประปราย โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเล็กน้อยเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 0.8 มิลลิเมตร
ผล  :  ผลสด รูปกลมขนาด 6 มิลลิเมตร สีส้มแดง มี 4 เมล็ด
การใช้งานด้านภูมิทัศน์  : ปลูกเป็นแปลง ทำเป็นแนวรั้ว ตัดแต่งทำไม้ดัดบอนไซได้ ปลูกริมทางเดิน ริมน้ำตก ลำธาร ริมทะเล ทนน้ำท่วมขัง

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

รักเร่


รักเร่ เป็นพันธุ์ไม้ดอกที่มีถิ่นกำเนิดใน เม็กซิโก โคลัมเบีย และทั่วไปในทวีปอเมริกากลาง ดอกมีรูปทรงและสีสรรสวยงามสะดุดตา ก้านดอกแข็งแรง นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก เช่นเดียวกับกุหลาบ
 ลักษณะทั่วไป
รักเร่เป็นไม้พุ่ม รากมีลักษณะคล้ายหัว ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ดอกเป็นแบบเดียวกับเบญจมาศ ก้านดอกยาวแข็งแรง กลีบดอก แบ่งออกเป็น2 ตอน กลีบดอกชั้นนอกนี้แผ่กว้างออก หรืออาจจะห่อเป็นหลอดก็ได้แล้วแต่ชนิดของดอก มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน กลีบรองดอก ด้านในเป็นแผ่นบาง ๆ เรียงกันเป็นระเบียบติดอยู่กับฐานของดอก ส่วนกลีบรองดอกด้านนอบเล็กกว่าด้านใน เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่ ดอกมีหลายสี เช่น ชมพู น้ำเงิน ขาว แดง แสด ส้ม ม่วง และ เหลือง เป็นต้น
การดูแลรักษา
รักเร่ชอบขึ้นในที่กลางแจ้งแดดจัด แต่มีความชื้นพอเพียง ควรปลูกในดินที่ร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี บางครั้งจำเป็นต้องหาวัสดุคลุมดินให้รักเร่ เช่น ฟาง ใบไม้แห้ง หรือเปลือกถั่ว เป็นต้น สำหรับการขยายพันธุ์รักเร่นั้น สามารถเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ต่อกิ่ง หรือใช้ราก เมื่อต้นให้ดอกแล้วต้นจะแก่และโทรมไปในที่สุด โดยจะทิ้งรากที่เป็นหัวไว้ในดิน ให้ตัดต้นเหนือระดับดินประมาณ 3 นิ้ว เพราะส่วนของตาที่จะเจริญเป็นต้นใหม่จะอยู่บริเวณโคนต้น แล้วจึงขุดหัวขึ้นมาจากดิน
หัวใต้ดิน นำมาต้มกับหมูรับประทานแก้โรคหัวใจ แก้ไข้ต้น น้ำคั้นจากต้นมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะอ่อน ๆ ฆ่าเชื้อ Staphylococcus แต่สำหรับใบรักเร่ บางพันธุ์มีพิษ ไม่นิยมรับประทาน

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

บอลสี


 
ชื่อสามัญ Deladium
ชื่อวิทยาศาสตร์       Caladium bicolor vent.
ลักษณะทั่วไป
บอลสีหรือที่เรียกกันแต่เดิมว่า บอนฝรั่ง จัดเป็นไม้ประเภทล้มลุกมีหัวสะสมออาหารอยู่ใต้ดิน หัวมีลักษณะคล้ายมันฝรั่ง ผิวภายนอกคล้ายเผือกหรือมัน เนื้อในละเอียดขาวนวลหรือขาวอมเหลืองอ่อน (ใช้ขยายพันธ์จากตาหรือเขี้ยวที่แตกงอกออกจากหัว) มีรากเป็นเส้นฝอยเล็กๆ แทงออกมาระหว่างหัวกับรอยต่อของลำต้น ซึ่งลำต้นของบอนสีสั้นมากคือ อยู่บริเวณเหนือหัวขึ้นไประหว่างหัวกับกาบ หากใบแก่ร่วงหลุดไปจึงจะเห็นลำต้น ส่วนที่ต่อจากหัวและลำต้นขึ้นไปเป็นกาบ มีลักษณะไม่กลม แต่แบนคล้ายของต้นกล้วย ต่อจากกาบขึ้นไปจรดคอใบก็เป็นก้านใบ มีบางพันธ์ที่บางก้านจะมีสีเดียวกันตลอดแต่บางก้านมีจุด หรือเส้นสั้น หรือเส้นสั้น หรือยาว เรียกว่า เสี้ยน ซึ่งต่างกับก้าน หรือเป็นที่รวมของสาแหรก หรือเป็นที่รวมของสาแหรก หรือทาง หรือเสี้ยน สำหรับใบก็มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น ใบมน ใบแหลม ใบยาว ใบกลม แต่บางแห่งเรียกต่างกันคือ ใบโพธิ์ ใบไผ่ ใบไทย ใบพลู ใบบอน และใบหอก
ประเภทบอนสี 
สามารถแบ่งตามรูปแบบของใบเป็น 4 ลักษณะคือ
1.บอนใบไทย(thai-Native Leaf Caladium)รูปร่างใบคล้ายหัวใจก้านใบอยู่กึ่งกลางใบ    ปลายใบแหลมหรืออาจมนบ้าง และมีหูใบฉีกไม่ถึงสะดือ
2.บอนใบยาว(Long-Leaf Caladium)รูปใบเรียวหรือป้อมปลายใบเรียวแหลม    ก้านใบอยู่ตรงรอยหยักบริเวณโคนใบพอดี และมีหูใบฉีกถึงสะดือ (ก้านใบ)
3.บอนใบกลม(Round-Leaf Caladium)รูปร่างใบค่อนข้างกลมหรือรีปลายใบมนสม่ำเสมอ    ก้านใบส่วนใหญ่จะอยู่กึ่งกลางใบพอดี
4.บอนใบกาบ(Sheath-Leaf Caladium)รูปร่างของก้านใบจะแผ่แบนตั้งแต่โคนใบถึงคอใบ ลักษณะคล้ายใบผักกาด
การเป็นมงคล 
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นบอนสีไว้ประจำบ้านช่วยคุ้มครองให้เกิดความสงบสุขเพราะบอนสีเป็นพรรณไม้เก่าแก่ที่ปลูกไว้คู่บ้านคู่เมืองมานานแล้ว ซึ่งนิยมปลูกในพระราชวังของขุนนางข้าราชการในสมัยโบราณดังนั้นคนไทยจึงนำมาปลูกไว้ประจำบ้านด้วย เพื่อเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย นอกจากนี้ชุดพันธุ์ของบอนสี ยังเป็นไม้มงคลนามอีกด้วย เช่น ชุดเทวดาประจำเรือน ชุดราชา เป็นต้น
ชุดพันธุ์ที่ใช้ปลูกเป็นไม้มงคล
1. ชุดเทวดาประจำเรือน                
2. ชุดมหาชาติ
3. ชุดต้นพระยา
4. ชุดราชา
5. ชุดนางสงกรานต์
การขยายพันธ์
บอนสีทำการขยายพันธ์ได้ โดยใช้หัวปลูกชำ แยกหน่อ หรือผ่าหัวที่มีตาปลูกชำก็ได้
  • การปลูกชำหัว ควรชำในทรายหยาบหรือทรายหยาบผสมแกลบเผา เมื่อแตกหน่อ แตกยอด และมีรากแข็งแล้ว แยกหน่อใหม่ไปปลูกได้
  • การแยกหน่อ (หน่อก็คือต้นที่แตกออกจากตาของหัวนั่นเอง) ในการแยกหน่อนี้ต้องตัดหน่อให้มีรากติดออกมาด้วยแล้วนำไปปลูก ซึ่งต้นที่ได้ใหม่นี้จะมีลักษณะแผลงไปจากเดิมบ้าง เช่น ลักษณะเป็นแถบสีป้ายอยู่บนใบเป็นต้น
  • การผ่าหัว โดยทำการผ่าหัวของบอนออกเป็นชิ้นๆ แต่ละชิ้นก็ให้มีส่วนของตาติดไปด้วย แล้วนำไปชำเพื่อให้เกิดรากและแตกตันใหม่ขึ้นมาการขยายพันธ์แบบผ่าหัวนี้ ทั่วๆ ไปแล้วจะมีลักษณะเหมือนต้นเดิมแต่ก็อาจได้ต้นใหม่ที่มีลักษณะแผลงไปจากเดิมบ้าง เช่น ลักษณะเป็นแถบสีป้ายอยู่บนใบเป็นต้น