วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สับปะรดสี




ถิ่นกำเนิด        ทวีปอเมริกา ใต้ กลาง เหนือ กระจายตามป่าตามคาคบไม้ ระดับสูงเทียมเมฆ                 
                      ตามหน้าผาสูงชัน หรือที่ราบชายฝั่งทะเล
ความนิยม       สับปะรดสีได้เริ่มนิยมในทวีปยุโรปก่อน แล้วเริ่มแพร่กระจายในเอเชีย
                      ในยุคปัจจุบันโดยใช้ตกแต่งทั่วไปตามลักษณะของสายพันธุ์ สับปะรดสีช่วยเพิ่มบรรยากาศความสดชื่น
                      จะปลูกไว้ใกล้หน้าต่าง บนโต๊ะ ริมผนัง ในครัว ใต้ต้นไม้ ในห้องน้ำ ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นพืชทนทาน
                      ต่อสภาพแสงน้อย
ลักษณะเด่น     มีช่อดอกยาวสูง สีกลีบดอก กลีบเลี้ยง และใบที่ฉูดฉาดคงอยู่นานหลาย
                     สัปดาห์หรืออยู่ได้หลายเดือน ทนแล้ง เหมาะสำหรับจัดสวนที่ไม่ต้องดูแลมาก

การขยายพันธุ์     ที่นิยมมากที่สุดคือ การแยกหน่อ รองลงมาคือ การเพาะเมล็ด เหมาะ

                               สำหรับผสมพันธุ์ใหม่ ได้ลูกผสมที่อาจสวยกว่าเดิม หรือด้อยกว่า ซึ่งต้องคัด
                               ต่อไปเรื่อยๆ ให้ได้ลูกผสมที่มีลักษณะที่สวยชัดเจน

ลักษณะนิสัย 

โโดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งตามลักษณะความเป็นอยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งจัดเป็นกลุ่มได้ดังนี้
11. พืชบนดิน-ทนแล้ง พบตามพื้นดินทรายแนวป่าใกล้ทะเล เป็นไม้อวบน้ำ ควรปลูกในกระถางดินเผา
หหรือพลาสติก ใช้วัสดุที่มีส่วนผสมของทรายหยาบ กาบมะพร้าวสับ  อาจเพิ่มถ่านผสมใบไม้ผุ
 ถ้าปลูกในแปลง ต้องเป็นพื้นที่และดินระบายน้ำดี แล้วผสมเครื่องปลูกที่กล่าวมาแล้ว

2.    พืชอิงอาศัย ชอบชื้น Tank type สับปะรดสีพวกนี้มีความหลากหลายสูง พบได้ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงยอดเขาสูง

ตามคาคบไม้ใหญ่ ป่าดิบเขาสูงระดับต่างๆ เมื่อนำมาปลูก ต้องการวัสดุปลูกที่ระบายน้ำและอากาศดี ควรใช้วัสดุให้รากยึดเกาะ
เพื่อหาอาหารจากผิวไม้ที่อาศัยเกาะอยู่ด้วย เช่น ตอไม้แขวน โดยแขวนที่ร่มรำไร แสงแดดประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ที่มีความ
ชื้นสูงหรือกระถางที่โปร่ง(กระถางกล้วยไม้)    ใช้เครื่องปลูกเป็น
กาบมะพร้าวสับและใส่ปุ๋ยละลายช้า ที่เรียกสับปะรดชนิดนี้ว่า Tank
เพราะใบสามารถเก็บน้ำขังไว้บริเวณกาบใบและยอด  ถ้าปลูกใน
แปลงควรใช้ดินร่วนโปร่งมีใบไม้ผุและกาบมะพร้าวสับมากๆ มีอิฐหัก
หรือถ่านทุบก็ได้ 
3   พืชอิงอาศัย ชอบแห้ง หรือพืชอากาศแท้   มีสกุลเดียวคือ สกุลทิลแอนเซีย (Tillandsia) จะมีลักษณะเป็นขุยสีเทาเงินปกคลุม
ระบบรากไม่พัฒนามาก บางชนิดมีราก2-3 เส้นไว้ยึดเกาะกิ่งไม้หรือผาหิน โดยไม่ทำหน้าที่ดูดอาหารเลย มอสสเปน หรือทั่วไปเรียกว่า
หนวดฤษี สับปะรดสีชนิดนี้ไม่ต้องใช้กระถางปลูกเลย ควรผูกติดกับตอไม้ แก่นไม้ แขวนไว้ที่ร่มรำไร หรือวางบนตะข่ายโปร่งๆ 

กระทือป่า



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Zingiber zerumbet  (L.) Smith.
วงศ์ :   Zingiberaceae
ชื่ออื่น :  กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ แฮวดำ เฮียวดำ (ภาคเหนือ) เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นเหนือดินกลม สูง 0.9-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน ต้นโทรมในหน้าแล้งแล้วงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปรูยาว กว้าง 5-7.5 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อแทงออกจากเหง้าขึ้นมา ช่อดอกรูปทรงกระบอก มีใบประดับสีเขียวแกมแดง เรียงซ้อนกันแน่นเป็นระเบียบ ดอกสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกบานไม่พร้อมกัน ผล แบบผลแห้งแตก รูปทรงค่อนข้างกลม สีแดง เมล็ดสีดำ
ส่วนที่ใช้ :  เหง้าสด
สรรพคุณ : บำรุงและขับน้ำนม ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืด บิด ปวดมวนในท้อง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ราก - แก้ไข้ตัวเย็น แก้ไข้ต่างๆ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เคล็ดขัดยอก
  • เหง้า- บำรุงน้ำนม แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด บิดป่วงเบ่ง
    - แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ขับผายลม ขับปัสสาวะ
    - แก้จุกเสียด แก้เสมหะเป็นพิษ
    - ขับน้ำย่อย เจริญอาหาร
    - เป็นยาบำรุงกำลัง
    - แก้ฝี
  • ต้น- แก้เบื่ออาหาร ช่วยเจริญอาหาร ทำให้รับประทานอาหารมีรส
    - แก้ไข้
  • ใบ
    - ขับเลือดเน่าร้ายในเรือนไฟ
    - แก้เบาเป็นโลหิต
  • ดอก
    - แก้ไข้เรื้อรัง
    - ผอมแห้ง ผอมเหลือง
    - บำรุงธาตุ แก้ลม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง บิดโดยใช้หัวหรือเหง้ากระทือสด ขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (ประมาณ 20 กรัม) ย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใสครึ่งแก้ว คั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ
    บางท้องถิ่นใช้หัวกระทือประกอบอาหาร เนื้อในมีรสขมและขื่นเล็กน้อย ต้องหั่นแล้วขยำกับน้ำเกลือนานๆ
    กระทือเป็นพืชที่มีสารอาหารน้อย
สารเคมี :           Afzelin, Camphene, Caryophyllene           น้ำมันหอมระเหยมี Zerumbone, Zerumbone Oxide