วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กระทือป่า



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Zingiber zerumbet  (L.) Smith.
วงศ์ :   Zingiberaceae
ชื่ออื่น :  กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ แฮวดำ เฮียวดำ (ภาคเหนือ) เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นเหนือดินกลม สูง 0.9-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน ต้นโทรมในหน้าแล้งแล้วงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปรูยาว กว้าง 5-7.5 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อแทงออกจากเหง้าขึ้นมา ช่อดอกรูปทรงกระบอก มีใบประดับสีเขียวแกมแดง เรียงซ้อนกันแน่นเป็นระเบียบ ดอกสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกบานไม่พร้อมกัน ผล แบบผลแห้งแตก รูปทรงค่อนข้างกลม สีแดง เมล็ดสีดำ
ส่วนที่ใช้ :  เหง้าสด
สรรพคุณ : บำรุงและขับน้ำนม ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืด บิด ปวดมวนในท้อง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ราก - แก้ไข้ตัวเย็น แก้ไข้ต่างๆ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เคล็ดขัดยอก
  • เหง้า- บำรุงน้ำนม แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด บิดป่วงเบ่ง
    - แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ขับผายลม ขับปัสสาวะ
    - แก้จุกเสียด แก้เสมหะเป็นพิษ
    - ขับน้ำย่อย เจริญอาหาร
    - เป็นยาบำรุงกำลัง
    - แก้ฝี
  • ต้น- แก้เบื่ออาหาร ช่วยเจริญอาหาร ทำให้รับประทานอาหารมีรส
    - แก้ไข้
  • ใบ
    - ขับเลือดเน่าร้ายในเรือนไฟ
    - แก้เบาเป็นโลหิต
  • ดอก
    - แก้ไข้เรื้อรัง
    - ผอมแห้ง ผอมเหลือง
    - บำรุงธาตุ แก้ลม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง บิดโดยใช้หัวหรือเหง้ากระทือสด ขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (ประมาณ 20 กรัม) ย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใสครึ่งแก้ว คั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ
    บางท้องถิ่นใช้หัวกระทือประกอบอาหาร เนื้อในมีรสขมและขื่นเล็กน้อย ต้องหั่นแล้วขยำกับน้ำเกลือนานๆ
    กระทือเป็นพืชที่มีสารอาหารน้อย
สารเคมี :           Afzelin, Camphene, Caryophyllene           น้ำมันหอมระเหยมี Zerumbone, Zerumbone Oxide

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น